SOLAR CELL
ระบบโซล่าเซลล์ (Solar cell system)
หลังจากที่เราได้รู้แล้วว่าโซล่าเซลล์ คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรแล้ว ต่อไปนี้เราจะมาดูกันนะครับ ว่าระบบของโซล่าเซลล์นั้นมีกี่ประเภท และมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
เป็นการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่มีการเชื่อมต่อกับ Grid หรือระบบไฟฟ้าของภูมิภาคหรือไฟฟ้านครหลวง ซึ่งระบบที่นิยมและค่าใช้จ่ายไม่สูง เนื่องจากระบบนี้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ Battery ในการสำรองไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ โดยรูปแบบการต่อแผงโซล่าเซลล์จะได้ไฟฟ้ากระแสตรงมา ดำเนินการต่อผ่าน Inverter เพื่อทำการแปลงไฟฟ้าจากระแสตรงเป็นกระแสสลับ เพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อไปในบ้านหรือโรงงาน
แต่ที่ Inverter และ Switch boarder นั้นจะมีการต่อกับ Grid ของการไฟฟ้า นั้นหมายความว่าพลังงานที่โซล่าเซลล์ผลิตได้เพียงพอกับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านหรือโรงงานต้องการ ก็จะไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจาก Grid ของการไฟฟ้า ในทางกลับกัน ถ้าไม่เพียงพอระบบจะทำการดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาช่วยจ่ายให้ได้โดยอัตโนมัติ
อย่างไรก็ตามระบบนี้แม้จะประหยัดเงินลงทุน แต่จะสามารถใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าเซลล์ได้เพียงช่วงเวลากลางวัน หรือวันที่แดดแรงเท่านั้น และในระหว่างวันโซล่าเซลล์อาจจะไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ จะต้องมีการนำดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาจ่ายให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านและโรงงาน
2. ระบบโซล่าเซลล์ประเภท Off grid
ระบบโซล่าเซลล์ที่ออกแบบมาเป็นแบบ Off grid นั้นจะคล้ายๆ กับ On grid แต่จะแตกต่างตรงที่จะไม่มีการเชื่อมต่อกับ Grid ของการไฟฟ้า และมีการติดตั้ง Battery เข้าไปเพื่อเป็นพลังงานสำรองของโซล่าเซลล์ นั่นก็หมายความว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านและโรงงานนั้นจะรับไฟฟ้าผ่านโซล่าเซลล์อย่างเดียว โดยจะไม่มีการรับไฟฟ้าจากทางการไฟฟ้าอย่าง PEA หรือ MEA
ซึ่งในระบบนี้นั้นค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าแบบ On grid เนื่องจากมีเงินลงทุนของ Battery รวมไปถึงค่าบำรุงรักษา และการออกแบบจะต้องได้รับการพิจารณาอย่างเป็นพิเศษเพราะว่าจะต้องออกแบบให้ครอบคลุมไปถึงช่วงเวลาที่ไม่มีแสงแดด เช่น กลางคืน หรือ แสงแดดไม่จัด ซึ่งจะทำให้เรื่องของความเสถียรหรือความต่อเนื่องของการใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์ต่างๆ อาจจะไม่เพียงพอได้ในบางช่วงเวลา
เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่เอาข้อดีของทั้ง 2 ระบบ คือ On grid และ Off grid มาประยุกต์เข้าด้วยกัน คือสามารถใช้ไฟฟ้าได้ทุกช่วงเวลาไม่ว่าจะเป็นช่วงแสงแดดแรงหรือแดดอ่อน แม้กระทั่งช่วงเวลากลางคืนนั้นก็ยังคงสามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งการใช้ไฟฟ้าแต่ละช่วงเวลาดังนี้
– ในช่วงเวลากลางคืน จะใช้ไฟฟ้าจาก Battery ที่เก็บสำรองไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ และรับไฟฟ้าจากการไฟฟ้าอย่าง PEA และ MEA เข้ามาช่วยจ่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า
ชนิดของโซล่าเซลล์ มี 3แบบ ดังนี้
1. แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)
แผงโซล่าเซลล์ประเภทนี้จะมีฟิล์มลักษณะบางกว่าชนิดอื่น สีแผงจะเข้มหรือมีสีดำ ข้อดีคือราคาถูกที่สุดใน 3 ชนิดนี้และมีน้ำหนักเบา ทนต่อความร้อนได้ดี แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุดและมีอายุการใช้งานที่สั้น ซึ่งไม่เหมาะนำมาติดตั้งในภาคอุตสาหกรรม
2. แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Mono Crystalline Silicon Solar Cells)
เป็นแผงที่ทำมาจากซิลิคอนทรงกระบอกบริสุทธิ์ รูปทรงของเซลล์จะมีสีเข้ม มุมทั้งสี่มุมจะเป็นสี่เหลี่ยมมุมตัด ข้อดีคือ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานที่สุด (25 – 40 ปี) และสามารถผลิตไฟได้ดีแม้แสงแดดจะน้อยก็ตาม และเมื่อเทียบกำลังวัตต์ที่เท่ากัน แผงโซลาร์เซลล์แบบ Mono Crystalline จะมีขนาดเล็กกว่า เหมาะกับสถานที่ติดตั้งที่มีพื้นที่จำกัดอย่างบนหลังคาบ้าน แต่ก็มีข้อเสียคือราคาที่สูงและหากมีคราบสกปรกบนแผงติดอยู่เป็นระยะเวลานาน จะทำให้ระบบอินเวอร์เตอร์ไหม้ได้
3. แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Poly Crystalline Silicon Solar Cells)
เป็นแผงที่ทำมาจากผลึกซิลิคอน รูปทรงของเซลล์เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสไม่มีการตัดมุม สีของแผงเข้มออกไปทางสีน้ำเงิน ซึ่งมีข้อดีตรงที่ ราคาไม่แพง และสามารถใช้งานในพื้นที่ที่อุณหภูมิสูงกว่าแผงคริสตัลไลน์เล็กน้อย แต่มีข้อเสียตรงอายุการใช้งานที่ค่อนข้างสั้นเพียง 20 – 25 ปี
– ให้ลองแบ่งปริมาณการใช้ไฟตอนกลางวันและกลางคืน แล้วยึดเอาค่าการใช้งานช่วงกลางวันมาคำนวณ เช่น ค่าไฟทั้งเดือนของคุณอยู่ที่ 5,000 บาท ใช้งานในช่วงกลางวันอยู่ที่ 60% และกลางคืน 40% เพราะฉะนั้นค่าไฟตอนกลางวันอยู่ที่ 3,500 บาท
– นำค่าไฟกลางวันไปหารด้วยค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 4 บาทต่อหน่วย (3,500 ÷ 4 = 875 หน่วย)
– นำเลขหน่วยหารด้วยจำนวนวันและชั่วโมงที่มีแสงอาทิตย์ (875 ÷ 30) ÷ 9= 3.2 หน่วยต่อชั่วโมง ดังนั้นกำลังไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะสมกับการติดตั้ง คือ ขนาดที่ 3 – 5 กิโลวัตต์ (3KW) ทั้งนี้ทั้งนั้นการคำนวณแบบนี้เป็นเพียงการคำนวณคร่าว ๆ เท่านั้น
อินเวอร์เตอร์
- Huawei | SUN2000-8-20KTL-M2
แผงโซล่าเซล
- Jinko Solar | Tiger Neo N-type 72HL4-(V) 555~575W
- LONGi Solar | LR5-72HPH 535~555M
- Trina Solar | Vertex TSM-DEG21C.20 645~665W